ตัวอักษรทั้ง 4 ตัวของ MBTI คือลักษณะรูปแบบของความชอบหรือความถนัด 4 ด้าน (Preferences) ที่ตัวเรามีใจโน้มเอียงหรือความพึงพอใจที่จะเป็นหรือใช้ โดยมาจากทั้งหมด 8 ตัวอักษร(หรือ 8 แบบ) ได้แก่ I หรือ E / S หรือ N / T หรือ F / J หรือ P เพื่อความง่ายต่อการเข้าใจ จึงขอใช้รูปภาพด้านล่างเป็นภาพรวม
(ถ้าใครยังไม่รู้ตัวอักษร MBTI 4 ตัวของคุณเอง ขอให้ไปลองทำแบบทดสอบได้ที่ คลิ๊กตรงนี้ เพื่อเปิดหน้าแบบทดสอบ)
เมื่อคุณทำแบบทดสอบโดยการตอบคำถามต่างๆ คำตอบที่คุณเลือกในแต่ละข้อนั้นคือตัวชี้วัดว่าคุณมีความชอบหรือความถนัดแบบไหนมากกว่ากันในทั้งหมด 4 ด้าน ในแต่ละด้านจะมีความแตกต่างอยู่ 2 แบบ ดังนั้น 2x2x2x2 = 16 MBTI จึงมีทั้งหมด 16 แบบ ไม่ว่าตัวของคุณจะมีลักษณะความชอบแบบไหนมากกว่ากัน มันไม่มีอะไรผิด ทุกอย่างล้วนมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน เรามาเรียนรู้แบบเจาะลึกกันเลยดีกว่า ว่าตัวอักษรแต่ละตัวในแต่ละด้านนั้นมีความแตกต่างและมีลักษณะเป็นอย่างไร (คลิ๊กที่ตัวอักษรนั้นๆเพื่อเข้าไปอ่านรายละเอียด)
- ตัวอักษรที่ 1 – Extraversion หรือ Introversion (E หรือ I)
- ตัวอักษรที่ 2 – Sensing หรือ Intuition (S หรือ N)
- ตัวอักษรที่ 3 – Thinking หรือ Feeling (T หรือ F)
- ตัวอักษรที่ 4 – Judging หรือ Perceiving (J หรือ P)
เมื่อรวมเป็น 4 ตัวอักษรแล้ว ก็จะได้ MBTI แบบต่างๆใน 16 แบบ แต่ละแบบก็จะมีจุดเด่นจุดด้อย ข้อดีข้อเสียที่ต่างกัน ทำให้เราสามารถเข้าใจตนเองได้มากขึ้นหรือสามารถหาเหตุผลมาอธิบายสิ่งที่เรากระทำได้ เช่น เราควรจะเรียนต่อคณะหรือทำงานอะไร ถึงจะเหมาะกับเราและสามารถดึงประสิทธิภาพของเราออกมาได้มากสุด ฯลฯ
ยกตัวอย่าง บุคลิกภาพแบบ INTJ ชื่อของบุคลิกภาพอันนี้คือ “The Scientist” หรือ “นักวิทยาศาสตร์” เพราะนักวิทยาศาสตร์ จำเป็นจะต้องอาศัยแรงบันดาลใจและจินตนาการใหม่ๆในการค้นพบสิ่งต่างๆ มีสัญชาติญาณอันแรงกล้า คนที่ตัวอักษรที่ 2 เป็น N หรือ Intuition (โดยเฉพาะ _NT_) เลยเหมาะกับงานในกลุ่มวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก แต่สำหรับ INTJ แล้ว ความเป็น I_TJ (Introversion/Thinking/Judging) ยังช่วยผลักดันให้บุคลิกภาพอันนี้เหมาะสมกับการเป็นนักวิทยาศาตร์มากที่สุด เพราะนักวิทยาศาสตร์คงต้องเก็บตัวมากกว่าเข้าสังคม(Introversion) หมกมุ่นอยู่กับการค้นคว้าและทำการวิจัย ใช้หลักการคิดวิเคราะห์(Thinking) เนื่องจากวิทยาศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผล ทุกอย่างเป็นเหตุเป็นผล และเฝ้าติดตามผล(Judging) เพราะทุกอย่างที่ทำการทดลองหรือสร้างขึ้นมา มิใช่จะสำเร็จได้เพียงการทำแค่ครั้งเดียว นอกจากนี้ INTJ ยังมีการทำหน้าที่ในเรื่องของสมรรถนะของการรู้คิด (Cognitive Function) แบบ Introverted Intuition และ Extraverted Thinking ที่เหมาะสมมากๆกับการเป็นนักวิทยาศาสตร์ เพราะมันจะช่วยให้ INTJ สามารถมีความคิดสร้างสรรค์ที่จะใช้เป็นแรงบันดาลใจใหม่ๆในการเรียนรู้หรือคิดค้นสิ่งต่างๆ และยังสามารถประยุกต์ใช้ความมีเหตุผลหรือข้อเท็จจริงเข้ามาเกี่ยวข้องได้ดีอีกด้วย ผลลัพธ์ต่อมาก็คือ INTJ จะมีเป้าหมายหลักส่วนตัวในการคิดค้นและประดิษฐ์สิ่งที่มีประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง
เมื่อเราเริ่มมีอายุมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงช่วงหลังของชีวิตหรือประมาณช่วงวัยทอง ร่างกายของเราจะพัฒนาบุคลิกภาพในส่วนที่ขาดหายไป ทำให้เรากลายเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์แบบได้ เนื่องจากการได้พัฒนาอีกส่วนหนึ่งที่หายไป มันเป็นเหมือนการสร้างฐานที่มั่นคง สร้างสมดุลให้กับตัวเอง และสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กรุ่นใหม่ต่อไป ตัวอย่างเช่น คนที่ตอนเด็กๆจนถึงช่วงวัยทำงาน เป็นคนชอบเข้าสังคมเป็นอย่างมาก (Extraversion) พอชีวิตมาถึงช่วงวัยทอง เขาก็จะพัฒนาด้าน Introversion ทำให้เป็นคนเริ่มรู้จักเก็บตัวมากขึ้น เริ่มต้องการเวลาและพื้นที่ส่วนตัวของตัวเองมากขึ้น เป็นต้น