ESFP – การพัฒนาทางด้านบุคลิกภาพ

ในส่วนนี้จะเป็นการอธิบายเกี่ยวกับการพัฒนาและเจริญเติบโตทางด้านบุคลิกภาพของ ESFP โดยใช้พื้นฐานของ 8 การทำหน้าที่ทางด้านจิตใจหรือ 8 สมรรถนะของการรู้คิด (8 Cognitive Functions)

ลำดับของการทำหน้าที่การทำหน้าที่ของ ESFPช่วงอายุที่เริ่มพัฒนา
Dominant Function
การทำหน้าที่อันหลัก
Extraverted Sensing13 ปี - วัยหนุ่มสาว
Auxiliary Function
การทำหน้าที่อันเสริม
Introverted Feelingวัยหนุ่มสาว - 30 ปี
Tertiary Function
การทำหน้าที่ลำดับ 3
Extraverted Thinking30 ปี - วัยกลางคน
Inferior Function
การทำหน้าที่ลำดับ 4
Introverted Intuitionวัยกลางคนขึ้นไป

ช่วงวัยเด็กจนถึงวัยหนุ่มสาว : การพัฒนาของ Extraverted Sensing

ในตอนเป็นเด็กๆ ESFP จะเริ่มพัฒนาการทำหน้าที่อันหลัก (Dominant Function) แบบ Extraverted Sensing

พวกเขาจะกลายเป็นคนที่ชอบสังเกตโลกภายนอกรอบๆตัวอย่างสุดๆ พวกเขาจะสังเกตรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ เช่น สีสัน, รูปร่าง, กลิ่น, รสชาติ เป็นต้น ESFP จะใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 สร้างความตื่นเต้นและความสนุกสนานให้กับตัวเองต่อในมุมมองทางโลกของพวกเขา

ESFP จะเริ่มแสดงออกถึงการชอบทำกิจกรรมหรือเล่นเกมมากกว่าที่จะอ่านหนังสือหรือฟังเรื่องราวที่แต่งขึ้นไม่ก็นิทาน ถ้าพวกเขากำลังจะต้องฟังเรื่องราว ESFP ก็จะเลือกฟังเรื่องที่มันเต็มไปด้วยรายละเอียดซึ่งเกี่ยวข้องกับความเป็นจริงและเหตุการณ์ที่แท้จริงในปัจจุบัน

ถ้าในตอนเด็กๆพวกเขาไม่ได้พัฒนาการทำหน้าที่อันนี้อย่างถูกต้อง พวกเขาอาจจะเติบโตมาเป็นคนที่ยอมจำนนอยู่กับความพึงพอใจของประสาทสัมผัสทั้ง 5

ช่วงวัยหนุ่มสาวจนถึงอายุ 30 ปี : การพัฒนาของ Introverted Feeling

ในช่วงวัยหนุ่มสาว ESFP จะเริ่มพัฒนาการทำหน้าที่อันเสริม (Auxiliary Function) แบบ Introverted Feeling

ESFP จะเริ่มแสดงออกถึงการพัฒนานี้โดยการเป็นคนที่อ่อนไหวง่ายมากๆและยังใจดี, ชอบให้กำลังใจ ตอบสนองต่อความต้องการของผู้คนรอบๆตัว

ความเป็นห่วงและความกังวลที่มีให้กับคนอื่นๆนั้น เมื่อไปรวมกับการที่เป็นคนชื่นชอบการเข้าสังคม (Extraverted) โดยธรรมชาติ มันเลยทำให้ ESFP เป็นคนที่เป็นที่รู้จักในหมู่เพื่อนหรือผู้ร่วมงาน นอกจากนี้พวกเขายังอาจจะเริ่มมีค่านิยมส่วนตัวซึ่งจะปฏิบัติตามอย่างตั้งใจ

ถ้า ESFP คนใดที่ไม่ได้พัฒนาการทำหน้าที่อันนี้อย่างถูกต้อง มันจะทำให้เป็นคนที่ได้รับความกดดันจากในหมู่เพื่อนหรือผู้ร่วมงานได้ง่ายมาก และไม่พิจารณาถึงสิ่งที่สำคัญต่อตนเอง

สิ่งที่ ESFP ควรจะปรับปรุงให้ดีขึ้น

ถ้าสภาพแวดล้อมรอบๆตัวเป็นธรรมชาติและไม่มีตัวขัดขวางการเจริญเติบโตทางบุคลิกภาพให้ดำเนินไปอย่างผิดปกติ เหล่า ESFP ส่วนใหญ่น่าจะได้พัฒนาทั้ง Extraverted Sensing และ Introverted Feeling ตั้งแต่ในช่วงอายุ 20 ปีขึ้นไป ในฐานะของการทำหน้าที่อันหลักและอันเสริมซึ่งจะอธิบายบุคลิกภาพของ ESFP ไปแล้วกว่า 90%

นี่คือตัวอย่างขอบเขตสำหรับ ESFP ที่ควรจะพัฒนาหรือฝึกใช้ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากการทำหน้าที่อันที่ที่ยังไม่ถูกพัฒนา ซึ่งนั่นก็คือ การทำหน้าที่ลำดับ 3 (Tertiary Function) และการทำหน้าที่ลำดับ 4 (Inferior Function) การทำหน้าที่ลำดับที่ 3 และ 4 ของ ESFP ก็คือ Extraverted Thinking และ Introverted Intuition ตามลำดับ

  • เรียนรู้เพื่อที่จะแสดงออกถึงจุดยืนของตัวเองอย่างแน่วแน่และมั่นใจ โดยที่ไม่ต้องใช้อารมณ์ให้มากเกินไป
  • ฝึกให้มีความอดทนมากขึ้นกับนโยบายหรือขั้นตอน/แผนการปฏิบัติของระบบใดระบบหนึ่ง
  • ตั้งเป้าหมาย วางแผน จากนั้นก็ปฏิบัติตามมันให้ดี
  • จัดระเบียบและตารางเวลาในชีวิตให้ดี
  • ควรจะทำความต้องการในสิ่งที่สนุกกับการที่ต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เป็นหน้าที่ให้มันสมดุลกัน
  • รู้จักรับและให้การตอบกลับในเชืงลบอย่างสร้างสรรค์
  • เป็นคนที่ใช้เหตุผลและข้อเท็จจริงในการตัดสินใจให้มากขึ้น
  • คิดเกี่ยวกับผลลัพธ์ของการกระทำในปัจจุบันที่จะส่งผลไปยังอนาคต
  • ยิ้มให้กับคำวิพากษ์วิจารณ์ รับฟังความคิดจากผู้อื่น เพราะทุกๆคนไม่ได้คิดหรือมีจุดยืนแบบเดียวกันหมด ยังมี MBTI อีก 15 แบบซึ่งแตกต่างจากคุณไปหมด
  • อย่าคาดหวังในตัวผู้อื่นมากเกินไป เพราะคุณจะรู้สึกแย่มากและผิดหวังมากๆถ้าคนๆนั้นทำอะไรอย่างที่คุณคาดหวังไม่ได้

ช่วงอายุ 30 ปีถึงวัยกลางคน : การพัฒนาของ Extraverted Thinking

ESFP จะเริ่มรู้สึกถึงความกังวลหรือความเครียดและจะนำพาไปสู่การพัฒนาการทำหน้าที่ลำดับ 3 (Tertiary Function) แบบ Extraverted Thinking ในช่วงหลังจากอายุ 30 ปี

พวกเขาจะเริ่มใช้การคิดเชิงเป็นเหตุเป็นผลและเชิงรูปธรรมโดยใช้ข้อเท็จจริงในการเข้าถึงและประเมินสถานการณ์ ซึ่งในปกติ ESFP จะใช้แต่ความรู้สึกส่วนตัวเป็นตัวตัดสิน นอกจากนี้ยังเริ่มจะเป็นคนที่ตรงไปตรงมาและเปิดเผยในคำพูดและภาษาของเขาในเวลาที่พวกเขารู้สึกว่ามันจำเป็น อาจจะสนใจในความรู้สึกและอารมณ์ของผู้อื่นน้อยลง ให้ความสำคัญกับความต้องการของตัวเองมากขึ้น

ESFP สามารถพัฒนาการทำหน้าที่แบบ Extraverted Thinking เพิ่มเติมด้วยตัวเองโดยการฝึกการกระทำต่อไปนี้

  • ฝึกการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยการใช้ข้อเท็จจริงต่างๆที่อยู่รอบตัวคุณ ใช้การอธิบายความคิดของคุณแบบมีเหตุผล โดยที่ห้ามนำอารมณ์หรือค่านิยมมาเกี่ยวข้อง
  • ในเวลาที่จะซื้อของ ให้คุณนำเอารายละเอียดของสินค้าแบรนด์ต่างๆมาเปรียบเทียบกัน โดยใช้รายละเอียดความแตกต่างของแต่ละอันเป็นตัวตัดสินหาอันที่ดีที่สุด อย่าใช้สิ่งที่คุณคิดไปเองหรือรู้สึกไปเองมาช่วย
  • เมื่อใดที่ได้รับงานมา ให้คุณมุ่งไปที่การทำงานเลยทันที คิดเชิงเหตุผลว่าอะไรที่ควรจะต้องทำงานถึงจะออกมาดีที่สุด

ช่วงวัยกลางคนขึ้นไป : การพัฒนาของ Introverted Intuition

ช่วงตั้งแต่วัยกลางคน ESFP จะเริ่มการพัฒนาของการทำหน้าที่ลำดับ 4 (Inferior Function) แบบ Introverted Intuition

การทำหน้าที่แบบ Introverted Intuition นี้เคยถูกปรากฎมาแล้วก่อนที่ ESFP จะเริ่มพัฒนามันจริงๆจังๆ แต่มันมาในช่วงวัยเด็กและมาในฐานะของการทำหน้าที่ที่ยังไม่ถูกพัฒนา เพราะฉะนั้นแล้วมันจึงส่งผลลัพธ์ในทางที่ผิดๆ เมื่ออยู่ในภาวะที่เครียด การทำหน้าที่อันนี้จะทำให้ ESFP รู้สึกกังวลและก่อให้เกิดสิ่งเลวร้ายขึ้นภายในจิตใจ

อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงช่วงวัยกลางคน พวกเขาจะมีการเปลี่ยนแปลงและความต้องการในการเริ่มพัฒนาการทำหน้าที่ลำดับ 4 ของตัวเองโดยที่ไม่รู้ตัว ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะเติมเต็มความเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จริงๆแล้วมันก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างอึดอัดแต่ก็จำเป็นในการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่

นี่คือตัวอย่างการกระทำที่จะช่วยพัฒนาการทำหน้าที่แบบ Introverted Intuition ขึ้นไปอีก

  • เข้าร่วมการเรียนรู้เพื่อฝึกการทำสมาธิหรือไม่ก็ลองหลับตาแล้วจินตนาการถึงอะไรบางอย่าง ลองหาความหมายที่ลึกซึ้งของสิ่งๆนั้นดู
  • หาหนังสือนิตยสารหรืออ่านข่าวที่เกี่ยวกับรอบโลกมาอ่าน จากนั้นดูกระแสนิยมของประเทศต่างๆ แล้วก็นำมันมาเปรียบเทียบกันดูว่ามีอันไหนที่สามารถเชื่อมโยงเข้าหากันได้มั้ย
  • เขียนบทกวีเกี่ยวกับบางสิ่งที่มาจากธรรมชาติ พยายามอย่าเขียนโดยใช้ลักษณะทางกายภาพเป็นคำอธิบาย (เช่น สี, รูปร่าง, ขนาด) นี่ก็เพราะเรากำลังฝึกไม่ใช้ประสาทสัมผัสอยู่ แต่พึ่งสัญชาตญาณแทน
แสดงความคิดเห็นผ่าน Facebook